21 ธ.ค. 2558

กำลังไฟแฟรชแบบกำหนดเอง 1/128 ถึง 1/1

การถ่ายภาพไฟแฟรชเป็นอุปกรณ์ในการสร้างสรรค์ภาพได้อย่างดีเยี่ยม ทำให้เราสามารถควบคุมแสงเงาได้อย่างที่ต้องการ สำหรับกล้อง EOS M3 ก็ไม่ได้ต่างกล้องในรุ่น DSLR Entry Level คือ เป็นระดับเริ่มต้น ไม่สามารถควบคุมกล้องได้ในหลายๆด้านเหมือนกล้องรุ่นใหญ่ หนึ่งในนั้นก็การควบคุมกำลังแฟรชแบบกำหนดเอง (Manual)

แต่อย่างไรก็ตามก็ไม่หมดหนทางเสียทีเดียวเมื่อมีทริกเกอร์รุ่นหนึ่งที่สามารถนำมาใช้งานกับ EOS M3 ได้อย่างลงตัว จริงๆ แล้วก็สามารถใช้ได้กับกล้องรุ่นเล็กได้เกือบทุกตัว เพราะรุ่น YN622C-TX เป็นรุ่นสำหรับควบคุมทริกเกอร์ตัวอื่นให้แฟรชปล่อยกำลังไฟได้อย่างที่เราต้องการ

สำหรับแฟรชทริกเกอร์รุ่นนี้ข้อดีอีกประการหนึ่งคือ สามารถกำหนดแรงไฟต่ำได้ถึง 1/128 ทั้งๆ ที่แฟรชมีสเปคกำหนดไว้เพียง 1/64 เท่านั้น (320EX และ 270EX II) ซึ่งต่างจากรุ่นใหญ่อย่าง 430EX และ 580EX ที่สามารถกำหนดแรงไฟได้ถึง 1/128

เมื่อลองกำหนดไปที่ 1/128 แล้วแรงไฟก็ลดลงตามไม่สว่างเท่ากับ 1/64 นี่จึงเป็นความโชคดีของผู้ใช้กล้องรุ่นเล็กอย่าง EOS M ทั้งหลาย (รวมถึง DSLR รุ่นเล็กด้วย)

ตัวอย่างภาพที่ได้จากกำลังไฟ 1/128 ถึง 1/1
ภาพแรก 1/128, 1/64, 1/32, 1/16, 1/8, 1/4, 1/2 และ 1/1

2 ธ.ค. 2558

EOS M3 + EFtoEFM Adapter: เลนส์มาโครมือหมุน Nikkor P55mm f/3.5

EOS M3 ถือว่าเป็นกล้องที่คุ้มค่าตัวหนึ่ง ถึงแม้ว่าทาง Canon ยังกั๊กๆ ไม่พัฒนากล้องมิเร่อเลส ให้ดีกว่านี้ทั้งที่มีศักยภาพเพียงพอ ต่างจากค่าย Sony ที่เปิดตัวกล้อง Mirrorless FullFrame ยึดหัวหาดด้านนี้ไปแล้ว แต่อย่างไรก็ตามด้วยราคาที่ไม่แพงมาก เมื่อเทียบกับค่ายอื่น อีกทั้งผู้เขียนเองมีเลนส์แคนนอนเหลืออีกหลายตัว โดยเฉพาะมือหมุนเป็นเมาส์ Canon อยู่แล้วโดยไม่ต้องเสียเงินไปซื้ออะแดปเตอร์ใหม่

เมื่อคืนไปรื้อกล่องเก็บของเจออะแดปเตอร์ Nik to EOS เลยหยิบเลนส์มาโครมือหมุนของ Nikon มาลองใช้กับ EOS M3 ดูสักหน่อย ก็ใช้งานได้ดี เพียงแต่จะให้ดีต้องมีรางสไลด์สำหรับถ่ายมาโครด้วย เพราะการถ่าย 1:1 นั้นจะต้องขยับกล้องเข้าออกเพื่อให้ได้โฟกัสที่แม่นยำ


21 พ.ย. 2557

จบหลังกล้องหรือหน้าคอมฯ

จำได้ว่าเริ่มจับกล้องถ่ายรูปแบบจริงๆ จังๆ ด้วย SLR ครั้งแรกเมื่อปี 2546 ด้วยกล้อง FM2n มือสองซื้อมาราคา 13,000 บาท ถือว่าได้ในราคาไม่ถูกนัก แต่สมัยนั้นกล้อง Manual ที่เป็นกลไกลที่ดีตัวหนึ่งเลยทีเดียว ถ่ายด้วยฟิล์มทั้งสี ขาวดำ และสไลด์ ตามประสามือใหม่หัดถ่าย

ยุคนั้นกล้องดิจิตอลยังเป็นเรื่องขบขัน ยังไงก็สู้ฟิล์มสไลด์ไม่ได้ แต่การนำเข้าคอมพิวเตอร์สมัยนั้นก็ยากพอควร ต้องสแกนรูปก่อน หรือจะให้ดีต้องสแกนฟิล์ม สแกนสไลด์ แล้วนำมาแสดงในเว็บบอร์ด

ต่อมาอีกสองปี กล้องดิจิตอลเริ่มเป็นที่นิยม ถ่ายแล้วนำไปใช้ในคอมพิวเตอร์ได้ทันที ผู้เขียนเองก็ซื้อ Kodak คอมแพคดิจิตอลมาใช้เหมือนกัน สนุกสนานกับการถ่ายภาพ และนำมาลงคอมพิวเตอร์พอสมควร แต่อย่างไรก็ตาม ความเป็น DSLR หรือ SLR ยังคงเป็นกล้องในใจของผู้เขียนและนักถ่ายภาพอีกหลายคนเสมอ

การถ่ายภาพในยุคแรกนั้นต้องอาศัยประสบการณ์ ฝีมือในการวัดแสง การปรับโฟกัส และสุดท้ายฝากความหวังกับการล้างอัดภาพอีกครั้งหนึ่ง

ความคุ้นเคยของคนถ่ายภาพด้วยกล้องฟิล์มจึงเป็นการถ่ายและจบในกระบวนการเดียว คิด ปรับแต่ง สร้างมุมมอง แล้วถ่าย จบแล้วจบเลย จะดีหรือไม่ก็ต้องรอลุ้นตอนไปล้างและอัด กระบวนการนี้คือ จบหลังกล้องของแท้ ที่หลายคนในปัจจุบันยังยึดติด ยึดมั่นถือมั่น และนำมาพูด แสดงความคิดเห็นต่อๆ กันมา และที่น่าขำคือ คนรุ่นใหม่ไม่เคยจับกล้องฟิล์มมาก่อนยังใช้คำว่า "จบหลังกล้อง" เพื่ออวดว่าตนมีฝีมือ ทั้งที่ปัจจุบัน คือ ยุคดิจิตอล เป็นยุคที่อำนาจอยู่หน้าจอ ไม่ใช่หลังกล้องอีกต่อไป...

ปัจจุบันกล้อง DSLR ทำได้ดีจนทำให้กล้องฟิล์มล้มหายตายจากวงการอย่างถาวร ความสามารถที่สูงขึ้น จนทำให้คนใช้สามารถถ่ายภาพดีๆ สวยๆ ออกมาได้อย่างไม่ยากเย็นนัก ถ่ายแล้วกดดูภาพได้ทันที ไม่พอใจก็ลบทิ้งและถ่ายใหม่ มีโอกาสแก้ไขได้ตามต้องการ

แต่ก็ใช่ว่าทุกคนจะทำได้และมีโอกาสในการถ่ายภาพได้อย่างใจคิดเสมอไป เพราะการถ่ายภาพ คือ เงื่อนไขของ แสง จังหวะ เวลา และโอกาส สิ่งเหล่านี้ต้องลงตัว ต้องพอดีในเวลา จังหวะที่เหมาะสม แต่การจัด แสง ให้เข้ากับ องค์ประกอบ ในจังหวะและโอกาสที่เหมาะสม โดยมีเงื่อนไขเวลาที่จำกัดเข้ามาเป็นตัวแปรอีก ทำให้โอกาสการได้ภาพตามที่ต้องการยากมาก

ดังนั้นการแก้ไข ตกแต่งภาพจากคอมพิวเตอร์จึงเป็นทางเลือกที่จะนำมาแก้ไขสถานการณ์ต่างๆ ได้เป็นอย่างดี แต่ใช่ว่าโปรแกรมเหล่านั้นจะมีสำหรับการแก้ไขภาพเท่านั้น ช่างภาพสามารถนำมาเพิ่มเติมปรับปรุง ภาพให้ดูดี โดดเด่นตามที่ตนเองต้องการได้

โปรแกรมที่ง่ายที่สุดอยากแนะนำ คือ Adobe Camera RAW เป็นโปรแกรมที่มาพร้อมกับ Photoshop ที่เรียบง่าย ใช้ง่ายได้ง่าย แต่หลังๆ ไม่ได้รับความสำคัญจาก Adobe สักเท่าใด เพราะถูกผลักดันให้ไปใช้ Adobe Light-room แทน

อย่างภาพที่นำมาเป็นตัวอย่างนี้ ภาพก่อนทำก็เป็นภาพที่ถ่ายธรรมดาทั่วไป แต่ดูจากภาพแล้ว เด็กที่อยู่ฉากหลังไม่ครบ ภาพที่ได้เด็กครบ เด็กน้อยที่อยู่ด้านหน้าก็แสดงสีหน้าไม่สวยงาม ครั้งจะให้ทั้งสองอยู่ในจังหวะพอดีก็ยากเหลือเกิน ตามรูปแบบการถ่ายภาพเด็ก ประกอบกับอยากได้ภาพเด็กในมุมมองคล้ายการจัดแสง ก็ต้องพึ่งพาการตกแต่งใน ACR นี่แหละ

วิธีการก็ปรับเพิ่มเงา (Shadow) และ สีดำ (Back) ให้มากขึ้น แต่ก็ยังไม่พอที่จะทำให้ฉากหลังเป็นสีดำได้ และมีเสื้อและสีอื่นๆ แทรกเข้ามา ก็ต้องปรับลดสี ใช้แปรงลบภาพส่วนเกินออก

สุดท้ายใช้ Oval เพื่อปรับภายนอกวงกลมให้มืดลงอีก และวางจุดศูนย์กลางไว้ตรงแก้มเด็ก พร้อมปรับวงรีให้เอียงตามทิศทางของแสง เพื่อเน้นทิศทางแสงมากขึ้น

ทั้งหมดนี้ปรับใน ACR เท่านั้นไม่ได้ปรับต่อใน Photoshop เลย โปรแกรมนี้สามารถส่งออกเป็นไฟล์ JPG และปรับขนาดตามต้องการได้ หรือจะส่งต่อไปยัง Photoshop อีกทีเพื่อแต่งภาพเพิ่มเติมก็ได้

วิธีการปรับแต่งนี้เหมือนการปรับแต่งใน LR เพียงแต่หน้าจอง่ายๆ ไม่ซับซ้อน



จากตัวอย่างง่ายๆ นี้จะเห็นได้ว่า การปรับแต่งภาพให้เป็นไปตามความต้องการของเรา เป็นการสร้างรูปภาพที่มีความแตกต่าง โดดเด่นจากภาพธรรมดา มากยิ่งขึ้น สำหรับผู้เขียนแล้วถือว่าเป็นการสร้างโอกาสในการได้ภาพมากกว่า จึงไม่แปลกใจเลยที่ผู้เขียนจะเลือกถ่ายภาพด้วย RAW ไฟล์ แล้วแต่งภาพ ปรับเปลี่ยนเพิ่มเติมภายหลัง เพราะมันทำได้อย่างที่เราต้องการ...

สำหรับตากล้องมือใหม่ ก่อนที่จะกล่าวว่า จบหลังกล้องดีกว่าจบหน้าคอมฯ นั้นก็ควรพิจารณาให้ดี และเปิดใจให้กว้าง จริงอยู่การวัดแสงปรับแสง ปรับอุปกรณ์ให้ดี จัดองค์ประกอบ ถ่ายภาพให้ดีแต่แรกนั้นเป็นสิ่งที่ดี แต่ถ้าได้การปรับแต่งในคอมพิวเตอร์ช่วยอีกแรงหนึ่ง ก็คงเหมือน เสือติดปีก ที่ทำให้หลุดพ้นจากข้อจำกัดนั่นเอง...

นี่จึงเป็นอีกเหตุผลหนึ่งที่ผู้เขียนเลือกจบหน้าคอมฯ มากกว่าจะจบหลังกล้องเพียงอย่างเดียว...  สวัสดีครับ


ตัวอย่างด้านล่างนี้ จบหน้าคอมฯ ทุกภาพครับ...





18 ก.ย. 2556

Adobe Camera RAW 8.2 มีอะไรใหม่?

Adobe Camera RAW 8.2 อัพเดทล่าสุดมีดีอะไรที่ควรค่าแก่การดีใจบ้าง เป็นคำถามแรกที่เห็นลิงค์จากเพื่อนในเฟสบุค

ลองตามเข้าไปดูแล้วส่วนใหญ่เป็นการอัพเดทประสิทธิภาพการทำงานให้ดีขึ้นและรู้จักกล้องตัวใหม่มากยิ่งขึ้น และมีฟีเจอร์สำคัญ ๆ หลัก ๆ ที่ผู้เขียนคิดว่าเห็นความแตกต่างอย่างชัดเจนคือ

Histogram แบบ Interactive คือ ผู้ใช้สามารถคลิกที่ Histogram แล้วเลื่อนแถบซ้าย-ขวา เพื่อปรับค่า Highlight, Shadow, Exposer และ White ได้เลย ซึ่งผลลัพธ์ก็เหมือนคลิกเลื่อนที่แถบด้านล่าง คือ ๆ กันไม่มีอะไรแปลก แต่ก็ถูกใจคอ Visual Control คือ มองอย่างไรก็ควบคุมกันตรงนั้น ปรับกันตรงนั้น ไม่ต้องอ่านภาษาอังกฤษด้านล่าง

Interactive Histogram ผู้ใช้สามารถใช้เมาส์คลิกลากเพื่อปรับความมืดสว่างได้ง่ายๆ

Rectangle White Balance eyedropper tool, เป็นเครื่องมือกำหนดสมดุลแสงขาว เดิมทีใช้เครื่องมือจิ้มตามจุดต่าง ๆ แต่มีโอกาสพลาดไปโดนสีอื่น เวอร์ชันนี้ปรับปรุงให้สามารถลากกรอบสี่เหลี่ยมบนพื้นที่สีขาวแล้วปรับค่าเฉลี่ย ทำให้แม่นยำขึ้น อันนี้เห็นรูปธรรมหน่อยครับ

Rectangle White balance ผู้ใช้สามารถกำหนดขอบเขตพื้นทีสีขาวเพื่อความถูกต้องของ WB 

Save Preset, เป็นการกำหนด Preset การบันทึกภาพเมื่อเลือกคลิกปุ่ม Save Image ทำให้ไม่ต้องปรับใหม่ทุกครั้ง อันนี้ก็มีประโยชน์ขึ้นมาช่วยให้บันทึกรูปได้เร็วขึ้น

Preset ในการบันทึกไฟล์สามารถกำหนดเพื่อใช้ภายหลังได้

อื่น ๆ ที่เหลือก็ต้องลองดูว่า Improved จริงหรือไม่เพราะมันมองไม่ค่อยชัดเจนนัก เขาว่าปรับเราก็ว่าปรับตามแล้วกันครับ...


ฟีเจอร์ใหม่ที่เพิ่มเข้ามาใน Adobe Camera RAW 8.2


http://blogs.adobe.com/lightroomjournal/2013/09/camera-raw-8-2-and-dng-converter-8-2-now-available.html


13 ก.ค. 2556

Adobe Bridge + Camera RAW สร้างภาพธรรมดา ๆ ให้โดดเด่นได้

ปัจจุบันการถ่ายภาพเป็นเรื่องงานกล้องและโปรแกรมช่วยให้ผู้ถ่ายสามารถตกแต่งภาพได้ตามความชอบใจ ทำให้เราสามารถส่งภาพไปยังสังคมออนไลน์ได้อย่าทันท่วงที ถึงแม้ว่าอุปกรณ์สื่อสารหลายประเภทจะสามารถถ่ายภาพแต่งภาพและส่งภาพผ่านเครือข่าย 3G ได้อย่างรวดเร็ว แต่ก็เป็นเพียงภาพเหตุการณ์ทั่วไป หากต้องการภาพที่โดดเด่นแล้วก็ต้องผ่านการจัดการจากโปรแกรมประมวลผลภาพหรือโปรแกรมตกแต่งภาพทั่วไป

โปรแกรมยอดนิยมในปัจจุบันนี้หนีไม่พ้นค่าย Adobe ทั้ง Photoshop, Light Room ต่างก็เป็นโปรแกรมที่ใช้กันแพร่หลาย โดยเฉพาะ Adobe Light Room นั้นน่าจะเป็นอีกหนึ่งเครื่องมือที่ช่างภาพมืออาชีพที่รับงานถ่ายภาพทั่วไปใช้มากที่สุดเพราะสามารถจัดการภาพได้ทีละหลายภาพ และสุดท้ายหากต้องการตกแต่งภาพขั้นสูงก็ส่งต่อไปยังโปรแกรม Photoshop กันอีกที

แต่สำหรับนักถ่ายภาพมือใหม่แล้วหากต้องใช้ Adobe Light-Room แล้วถือว่าเป็นงานใหญ่เพราะโปรแกรมนี้เป็นโปรแกรมที่ครอบจักรวาลทำได้หลากหลาย แต่ต้องแลกกับการสละเวลาศึกษา ทดลอง ใช้งานจนคล่องแล้วจะเกิดประสิทธิภาพ อีกทั้งโปรแกรมนี้ต้องการทรัพยากรเป็นจำนวนมาก

สำหรับผู้เขียนแล้วพยายามลองใช้งานหลังครั้งแล้วแต่ก็ยังไม่ค่อยประทับใจเพราะมีอะไรที่ซับซ้อนและเสียเวลาในการเรียนรู้มาก ก็ใช้งาน Photoshop+Adobe Camera RAW คอยปรับภาพทีละภาพไปเรื่อย ๆ ก็ใช้งานได้ดี แต่ภายหลังเมือรับงานถ่ายภาพกิจกรรมครั้งละหลายร้อยภาพชักเริ่มจะวุ่นวายกับการปรับ และพยายามที่จะกลับไปใช้ LR อีกครั้ง จนแล้วจนรอดก็ไม่สำเร็จสักที

แต่แล้วก็มาสะดุดตาสะดุดใจกับเครื่องมือที่หลาย ๆ คนไม่ค่อยสนใจนักเมื่อติดตั้ง Photoshop คือ Adobe Bridge หน้าที่หลัก ๆ ก็เป็นโปรแกรมจัดการไฟล์รูปภาพนั่นแหละ ตั้งแต่โหลดภาพ แสดงภาพ และเรียกใช้โปรแกรม Adobe Camera RAW และ Photoshop


การใช้งานครั้งแรก

การติดตั้งโปรแกรม Photoshop ครั้งแรกระบบจะลงโปรแกรม Adobe Bridge และ ACR มาให้เรียบร้อยเลย และเมื่อเรียกใช้โปรแกรม Photoshop Free trial ครั้งแรกให้คลิกเลือก File -> Browse in Bridge ก่อนแล้วคลิกเลือกไฟล์ RAW เพื่อเปิดครั้งแรกเสียก่อน แล้วหลังจากนั้นถึงจะสามารถคลิกเลือกเมนู Open in Camera RAW ได้ มิฉะนั้นระบบจะมีข้อความเตือนตลอด ทำให้การเปิดทำได้แค่ดับเบิลคลิกที่รูปภาพแทน

ควรเปิดใช้ Bridge หลังจากติดตั้งโปรแกรมเสร็จก่อนที่จะทำอย่างอื่น


การเลือกเปิดทีละหลายรูปภาพ

คนที่ใช้ Adobe Light-Room จะชอบวิธีการปรับเปลี่ยนไฟล์ครั้งละหลาย ๆ ภาพ โดยภาพจะเปลี่ยนไปพร้อม ๆ กันไม่ต้องนั่งปรับเปลี่ยนทีละไฟล์ บางโปรแกรมเรียกการทำงานแบบ Batch ทำให้สะดวกต่อการปรับแสง สี คุณภาพของไฟล์ภาพไปพร้อม ๆ กัน แต่มีข้อแม้ว่า ภาพนั้นควรจะมีความใกล้เคียงกันบ้าง เช่นถ่ายในสภาพแสง สี มืด สว่าง ใกล้เคียงกัน ไม่งั้นปรับลำบาก

เมื่อคลิกเลือกไฟล์ RAW ที่ต้องการเรียบร้อยแล้ว (Ctrl + คลิก) แล้วคลิกขวาที่รูปแล้วเลือก Open in Camera RAW

โปรแกรมจะเปิดไฟล์ทั้งหมดใน Adobe Camera RAW เราสามารถปรับรูปที่รูปเดียว แล้วเลือก Select All และ Synchronize

ตัวอย่างการปรับภาพ
บทความนี้จะแสดงตัวอย่างการใช้งาน Adobe Camera RAW ในการรีทัชภาพ โดยไม่ต้องใช้ Photoshop ส่วนรายละเอียดจะค่อยลงลึกไปทีละส่วน เพราะมีข้อปลีกย่อยเยอะเหมือนกัน แต่ไม่มากเท่า Light Room

ใช้ Brush ระบายฉากหลังเพื่อปรับลดความสว่าง รายละเอียดอื่น ๆ ทำให้ตัวแบบโดดเด่นขึ้น


ใช้ Stamp เพื่อลบส่วนเกินออกจากภาพ สามารถเลือกว่าจะเป็น Heal หรือ Clone

ภาพก่อนทำและหลังปรับแต่งด้วย Adobe Camera RAW

จากตัวอย่างด้านบนจะเห็นว่าเราสามารถทำภาพธรรมดา ๆ ให้โดดเด่นขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยไม่ต้องพึ่งพาอาศัย Photoshop ทำให้เราสามารถทำงานได้อย่างรวดเร็ว

และสุดท้ายผู้เขียนว่าแนวคิด วิธีการในบทความนี้จะจุดประกายในการทำงานด้านการถ่ายภาพของผู้อ่าน และสามารถพัฒนาต่อยอดยิ่ง ๆ ขึ้นไป สงสัย หรือใช้งานแล้วดีไม่ดีอย่างไรอย่าลืมแวะมาอัพเดท ติชม แนะนำกันบ้างนะครับ... สวัสดีครับ

17 ก.พ. 2556

C-PL เอาไว้ทำอะไร

ทำอย่างไรจะให้ได้ท้องฟ้าสีสวย ๆ? ใช้ C-PL สิรับรองเข้ม
ทำอย่างไรให้ถ่ายภาพผ่านกระจกไม่มีแสงสะท้อน? ใช้ C-PL สิรับรองทะลุ
ใช้ C-PL แล้วทำไมท้องฟ้ายังไม่เข้มเป็นสีน้ำเงิน? ก็น่าจะไม่รู้จัก C-PL ดีมั๊ง :D

คำถามคำตอบข้างบนนี้มีอยู่ตามเว็บไซต์ต่าง ๆ และกลายเป็นว่า C-PL คือ ยาสาระพัดนึกสำหรับการถ่ายรูป บางรายถึงกับเอามาใส่แทนฟิลเตอร์ป้องกันชิ้นเลนส์ไปเลยทีเดียว

C-PL, Circular Polarized เป็นรูปแบบการตัดแสงที่กระเจิงในวัตถุอื่น ๆ และสะท้อนที่ตัวแบบเข้ามายังกล้องถ่ายรูป แต่ไม่ใช่ว่าจะตัดได้สาระพัด ต้องดูทิศทางของแสงที่ส่องไปยังตัวแบบด้วย นั่นคือ แสงและตัวแบบจะทำมุมกัน 90 องศา

1 ก.พ. 2556

f, s และ iso ในการใช้แฟลชเกี่ยวกันอย่างไร

การถ่ายภาพแต่ละครั้งสิ่งที่ควรอยู่ในหัวสมอง ต้องคิดอยู่เสมอคือ คุณภาพของแสง ทิศทางของแสง ความเปรียบต่างของแสง ความเข้มของแสง เหตุการณ์และอุณหภูมิสี สิ่งเหล่านี้ถึงแม้จะไม่สามารถควบคุมให้ได้ดั่งใจอยู่เสมอ แต่ก็ควรจะมีให้มากที่สุด และแสงที่ดีที่สุดสำหรับถ่ายภาพคือแสงธรรมชาติ แต่ใช่ว่าจะให้เราได้ทุกวันเวลา เพราะธรรมชาติมีการเปลี่ยนแปลงทุกช่วงเวลา และหากไม่มีแสงธรรมชาติก็ต้องใช้แสงประดิษฐ์นั่นคือ ไฟสำหรับถ่ายรูปต่าง ๆ ที่ใช้กันบ่อยและมีได้ง่ายคือ แฟลช

หลายคนที่ถ่ายรูปมานาน ๆ ถ้าไม่ใช่ประเภทรับถ่ายอีเวนต์หรืองานพิธีต่าง ๆ จะรู้สึกเหมือนกันคือแทบไม่ได้ใช้แฟลชเอาเสียเลย โดยเฉพาะกล้องรุ่นใหม่ ๆ นี่สามารถใช้ ISO ได้สูง ๆ ทำให้ภาพไม่สั่นไหว แต่แลกมาด้วย Noise หรือความสดใสของสีลดลง แต่ใช่ว่าจะเป็นอุปสรรคเพราะโปรแกรมตกแต่งรูปสมัยนี้ทำได้ดีกว่าสมัยก่อนมากไม่รู้กี่เท่า

แล้วเมื่อต้องใช้แฟลชก็สะเปะสะปะ ถ่ายทีกว่าจะปรับให้ลงตัวได้ก็เล่นเอาเสียเวลาไปนานแสนนาน (ออกตัวก่อนว่าไม่ใช่มืออาชีพด้านการใช้แฟลช) บทความนี้จึงขอนำเอาเกร็ดเล็กเกร็ดน้อยเกี่ยวกับการปรับแฟลชเพื่อถ่ายภาพ

องค์ประกอบสำคัญสำหรับการถ่ายภาพด้วยแฟลชคือ การเปิดหน้าเลนส์ (f) การปรับความเร็วชัตเตอร์ (s) และความไวแสง (ISO)

องค์ประกอบ 3 อย่างสัมพันธ์กันในทิศทางตรงข้ามและทิศทางเดียวกัน (อ่านเพิ่มเติมใน รู้จัก ISO Aperture และ SpeedShutter )