บทความก่อนทำให้เราทราบว่าสายตามนุษย์มีการรับรู้เรื่องของสีและความเข้มแสงแยกออกจากกัน ทำให้มนุษย์สามารถแยกแยะแสง-เงาและสีได้ดีกว่ากล้องเป็นไหนๆ
แสงที่ใช้ในการถ่ายรูปมีสองแบบคือ แสงธรรมชาติ และแสงประดิษฐ์ (โดยเลียนแบบแสงธรรมชาติ) แสงธรรมชาติก็มาจากแหล่งกำเนิดที่ใหญ่ที่สุดคือ ดวงอาทิตย์ โดยแต่ละวันก็จะเปลี่ยนแปลง แตกต่างกันไป ตามการหมุนเวียนและฝุ่นละออง เมฆฝนตามผิวโลก
การถ่ายรูปแต่ละครั้งผู้ถ่ายต้องอาศัยแสงตามธรรมชาติเป็นส่วนใหญ่ บางครั้งโอกาสในการถ่ายรูปด้วยแสงธรรมชาติก็ไม่สามารถพบเห็นบ่อย ๆ มนุษย์จึงต้องอาศัยแสงประดิษฐ์เพื่อส่องสว่างแทน แสงที่ได้ก็แตกต่างกันไป ผู้ถ่ายจำต้องเรียนรู้ศึกษาให้ถ่องแท้ว่าแสงแต่ละแบบมีผลต่อภาพถ่ายอย่างไร
สีเกิดจากอะไร
สีที่เรามองเห็นแบ่งเป็นสีหลัก 2 แบบคือ สีเกิดจากแหล่งกำเนิด และสีเกิดจากการสะท้อน หักเหของแสง
- สีจากแหล่งกำเนิด - เป็นสีที่ได้จากการหักเหของแสงดวงอาทิตย์เป็นหลัก ทางวิทยาศาสตร์สามารถแยกแยะสีที่เกิดจากแหล่งกำเนิดได้แม่สีหลัก คือ แดง เขียว และน้ำเงิน (R, G, B) และสีสามสีนี้ผสมกันแล้วเกิดสีขั้นที่สองอีก 3 สีคือ ฟ้า ม่วงแดง และเหลือง (C, M, Y) จากนั้นก็มีการผสมย่อยไปตามเฉดสีต่าง ๆ แสงทั้งสามเมื่อรวมกันในอัตราส่วน 100% ทุกสีจะเกิดแสงสีขาว
- สีที่เกิดจากการสะท้อนรงควัตถุ - สีชนิดนี้เกิดจากการสะท้อนแสงขาวแล้วเกิดการหักเห ดูดซึมสีบางอย่างแล้วสะท้อนบางสีมากระทบที่ตาของเราทำให้เกิดสีแบบต่าง ๆ เช่น รงควัตถุสีแดง เกิดจากการดูดซึมสีเขียว และน้ำเงินไว้ โดยจะสะท้อนแสงสีแดงออกมาทำให้เรามองเห็นวัตถุนั้นเป็นสีแดง เป็นต้น สีที่สะท้อนชนิดนี้เมื่อรวมกันอย่างละ 100% จะเกิดเป็นสีดำ แต่ในความเป็นจริงได้เพียงแค่สีเทาเข้มไม่ดำสนิท ในทางการพิมพ์จึงนำสีดำมาช่วยให้เกิดสีดำที่แท้จริง จึงเรียกสีชนิดนี้ว่า CMYK หรือการพิมพ์แบบสี่สีนั่นเอง
สีเครื่องพิมพ์ที่แยกเป็น CMYK |
จากข้อมูลข้างต้นทำให้เราทราบแล้วว่าเราเห็นแสงสีได้อย่างไร และกล้องถ่ายภาพก็ใช้หลักการเดียวกันกับการมองเห็นแสงสีของมนุษย์และบันทึกเก็บไว้ในหน่วยความจำที่ใช้นั่นเอง
แม่สีมีกี่ชนิด?
ตอนเรียนศิลปะครูสอนมาตลอดว่าแม่สี 3 สีคือ แดง เหลือง น้ำเงิน (RYB) และตอนมาเรียนรู้เกี่ยวการการแพร่ภาพโทรทัศน์สี แม่สีหลักมี 3 สีเช่นกันคือ แดง เขียว น้ำเงิน (RGB) ซึ่งเป็นแม่สีชนิดบวก (Additive Primary Color) ซึ่งเป็นสีที่นำมารวมกันจะได้สีขั้นที่สองเป็นสี CMY ซึ่งใกล้เคียงกับสี RYB
แม่สีแบบ RGB เป็นสีจากแหล่งกำเนิด ใช้ในการฉายภาพ สังกตุเห็นเป็นโลโก้ช่อง 7 สีนั่นแหละครับ |
นาน ๆ จะเห็นภาพที่มีแม่สี RYB ครบจริง ๆ จัง ๆ เสียที |
ปัจจุบันเป็นที่ถกเถียงกันว่าการผสมสี RYB ผสมแล้วไม่ได้สีที่แท้จริงสีทางวิทยาศาสตร์ที่นำมาใช้กับการพิมพ์ได้ทดลองแล้วต้องเป็นสี MYC หรือเรียงใหม่เป็น CMY ซึ่งจะผสมสีแล้วได้สีใกล้เคียงกับสายตามองเห็น แต่เมื่อผสมกันแล้วไม่ได้สีดำที่แท้จริงกลับเป็นเทาเข้ม การพิมพ์จึงเพิ่มสีดำเข้าไปอีก 1 สี และเรียกว่าการพิมพ์ 4 สี
การนำเอาแม่สีมาใช้ในงานศิลป์หากมีการใช้แบบครึ่ง ๆ จะทำให้ภาพดูแล้วอึดอัด ในทางปฏิบัติต้องมีการเบรคสี |
ดังนั้นวงการพิมพ์ก็จะคุ้นเคยกับสี CMYK จิตรกรก็คุ้นเคยสี RYB ซึ่งหลัก ๆ ก็คล้าย ๆ กัน เป็นสีสะท้อนรงควัตถุหรือเป็นสีชนิดหักล้าง (Subtractive Primary Color) กล่าวคือ ถ้ามีการหักล้างสีใดสีหนึ่งออกจะกลายเป็นสีของแม่สี RGB (ตรงนี้จะกล่าวเพิ่มเติมทีหลัง ทำความเข้าใจทีละนิดเก็บเล็กผสมน้อยก่อนจะเป็นประโยชน์มาก)
เมื่อเข้าใจเกี่ยวกับการเกิดแสงและสีแล้วต่อไปก็สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการถ่ายรูปได้เป็นอย่างดี ลองดูนะครับ หากมีอะไรบกพร่อง ขาดเหลือก็แนะนำกันได้ครับ
แม่สี RGB เป็นแม่สีปฐมภูมิ คือ จากแหล่งกำเนิด และผสมกันแล้วได้ CMY เป็นแม่สีทุติยภูมิ เป็นสีที่สะท้อนจากรงควัตถุ และผสมกันก็จะได้สีขั้นที่ 3 ทั้งหมดถ้านำมาทำเป็นวงล้อสีก็จะได้สีหลัก ๆ 12 สี ลองดูภาพประกอบนะครับ อันแรกเป็นวงล้อสีแบบ RGB ภาพที่สองเป็นวงล้อสีของศิลปินแบบ RYB
http://1.bp.blogspot.com/-mmZZkTSEb_M/TeEzAiU_LAI/AAAAAAAAAEw/WaOEGxYCm1w/s1600/RGB.gif |
http://www.manfioz.com/wp-content/uploads/2010/06/encyc_colorwheel.gif |
อีกหนึ่งคำถามที่ได้รับมาเสมอทำไมแม่สีของจิตรกรกับแม่สีการพิมพ์ถึงไม่เหมือนกันก็เพราะแม่สีของจิตรกรใช้มาเป็นเวลานานและเป็นแม่สีที่สามารถหาได้ตามธรรมชาติ ไม่เหมือนกับแม่สีทางการพิมพ์ซึ่งให้ตรงกับความต้องการแต่เป็นสีสังเคราะห์หาได้ยากในธรรมชาติ เช่น สีน้ำเงินใช้ดอกไม้ สีแดงใช้ดอกไม้ สีเหลืองก็ใช้ดอกไม้แทนได้ แต่สีฟ้า (Cyan) จะใช้สีอะไรในธรรมชาติล่ะครับ...
อ่านเพิ่มเติม:
- เทคโนโลยีภาพสี, ผช. ศ. สุรพงษ์ เอี่ยมพิชัยฤทธิ์ และสุมิตรา ขันตยาลงกต
- เรียนรู้ทฤษฎีสี, ทวีเดช จิ๋วบาง
- องค์ประกอบศิลปะ, ฉัตร์ชัย อรรถปักษ์
- Digital SLR Color Photography #3, ILEX Press
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น